วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

กฎหมาย




กฎหมาย คืออะไร พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 กำหนดคำนิยามความหมายของคำว่า กฎหมาย ไว้ว่า กฎหมาย กฎ. น. กฎ ที่สถาบัน หรือ ผู้มีอํานาจสูงสุดในรัฐ ตราขึ้น หรือ ที่เกิดขึ้นจาก จารีตประเพณี อันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อ ใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อ ใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือ เพื่อกําหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล หรือ ระหว่างบุคคลกับรัฐ

กฎหมายเบื้องต้น
กฎหมายคืออะไรเป็นปัญหาที่ได้รับการถกเถียงกันมาตั้งแต่โบราณจวบจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่เป็นที่ยุติ ทั้งนี้เพราะการให้ความหมายของคำว่า "กฎหมายแตกต่างไปตามแต่ว่าผู้ให้ความหมายนั้นมีแนวความคิดทางกฎหมายอย่างไร แต่ไม่ว่าสำนักความคิดใดหรือนักกฎหมายใดจะให้ความหมายของกฎหมายเป็นอย่างไรก็ตาม ก็เป็นที่ยอมรับตรงกันว่า กฎหมายสามารถจำแนกลักษณะได้ 4 ประการ"

๑. กฎหมายต้องมีลักษณะเป็นเกณฑ์
กฎหมายต้องมีลักษณะเป็นกฎเกณฑ์ ที่ว่าต้องเป็น "กฎเกณฑ์" (NORM) นั้นหมายความว่ากฎหมายต้องเป็นข้อบังคับที่เป็นมาตราฐาน (STANDARD) ที่ใช้วัดและใช้กำหนดความประพฤติของสมาชิกของสังคมได้ว่าถูกหรือผิด ให้กระทำการได้หรือห้ามกระทำการ ในกรณีให้กระทำการ เช่นผู้มีเงินได้ต้องเสียภาษีให้รัฐบาล หรือชายที่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ต้องไปรับการเกณฑ์ทหาร ในกรณีที่ห้ามมิให้กระทำการ เช่น ห้ามทำร้ายผู้อื่นหรือเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยเขาไม่อนุญาต ซึ่งหากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ยอมปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ถือเป็นสิ่งที่ผิดและจะถูกลงโทษ
ดังนั้น สิ่งใดที่ไม่มีลัษณะเป็นกฎเกณฑ์ที่เป็นข้อบังคับมาตรฐานความประพฤติของมนุษย์ในสังคม สิ่งนั้นก็ไม่ใช่กฎหมาย ตัวอย่างเช่น ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลได้ประกาศเชิญชวนคนไทยให้สวมหมวกและให้นุ่งผ้าซิ่นแทนผ้าโจงกระเบน ประกาศนี้แจ้งให้ประชนทราบว่ารัฐบาลนิยมให้ประชาชนปฏิบัติอย่างไร มิใช่บังคับ หรือ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเชิญชวนคนไทยปลูกต้นไม้เนื่องในโอกาสพิเศษ หรือคำเชิญชวนของนายกรัฐมนตรีที่ขอให้คนไทยช่วยกันประหยัด เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ข้อกำหนดที่มีลักษณะบ่งบอกว่าสิ่งใดผิดสิ่งใดถูกจึงไม่ใช่กฎหมาย
กฎหมายต้องมีลักษณะเป็นกฎเกณฑ์ ที่ว่าต้องเป็น "กฎเกณฑ์" (NORM) นั้นหมายความว่ากฎหมายต้องเป็นข้อบังคับที่เป็นมาตราฐาน (STANDARD) ที่ใช้วัดและใช้กำหนดความประพฤติของสมาชิกของสังคมได้ว่าถูกหรือผิด ให้กระทำการได้หรือห้ามกระทำการ ในกรณีให้กระทำการ เช่นผู้มีเงินได้ต้องเสียภาษีให้รัฐบาล หรือชายที่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ต้องไปรับการเกณฑ์ทหาร ในกรณีที่ห้ามมิให้กระทำการ เช่น ห้ามทำร้ายผู้อื่นหรือเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยเขาไม่อนุญาต ซึ่งหากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ยอมปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ถือเป็นสิ่งที่ผิดและจะถูกลงโทษ
ดังนั้น สิ่งใดที่ไม่มีลัษณะเป็นกฎเกณฑ์ที่เป็นข้อบังคับมาตรฐานความประพฤติของมนุษย์ในสังคม สิ่งนั้นก็ไม่ใช่กฎหมาย ตัวอย่างเช่น ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลได้ประกาศเชิญชวนคนไทยให้สวมหมวกและให้นุ่งผ้าซิ่นแทนผ้าโจงกระเบน ประกาศนี้แจ้งให้ประชนทราบว่ารัฐบาลนิยมให้ประชาชนปฏิบัติอย่างไร มิใช่บังคับ หรือ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเชิญชวนคนไทยปลูกต้นไม้เนื่องในโอกาสพิเศษ หรือคำเชิญชวนของนายกรัฐมนตรีที่ขอให้คนไทยช่วยกันประหยัด เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ข้อกำหนดที่มีลักษณะบ่งบอกว่าสิ่งใดผิดสิ่งใดถูกจึงไม่ใช่กฎหมาย

๒. กฎหมายต้องกำหนดความประพฤติของบุคคล
กฎหมายต้องกำหนดถึงความประพฤติของบุคคล ความประพฤติ(BEHAVIOR) ในที่นี้ได้แก่การเคลื่อนไหวหรือไม่เคลื่อนไหวร่างกายภายใต้การควบคุมของจิตใจ รวมไปถึงกระทำการหรืองดเว้นกระทำอย่างใดที่ต้องอาศัยร่างกายเคลื่อนไหว
ตัวอย่างเช่น นายดำ อยากให้นายแดงตายจึงใช้ปืนยิงนายแดงโดยรู้อยู่ว่าการยิงนายแดงเช่นนี้ จะทำให้นายแดงตาย เราเรียกการกระทำนี้ว่านายดำมีเจตนาฆ่านายแดงการที่นาย ดำยกปืนยิงนายแดงเป็นการเคลื่อนไหวร่างกายภายใต้การบังคับของจิตใจ แต่นายฟ้าเดินอยู่ เกิดเป็นโรคลมบ้าหมู เกิดอาการชักกระตุกของฝ่ามือ ฟาดไปโดนหน้านายเหลือง แม้มีการเคลื่อนไหวร่างกาย แต่เป็นการเคลื่อนไหวนอกเหนือการควบคุมของจิตใจ ฉะนั้น กรณีนี้กฎหมายจึงไม่เข้ามาควบคุมการเคลื่อนไหวเช่นนี้ เมื่อกฎหมายต้องกำหนดถึงความประพฤติของมนุษย์ ถ้าเป็นสัตว์กระทำให้มนุษย์เสียหายกฎหมายไม่ลงโทษสัตว์ แต่อาจลงโทษมนุษย์ผู้เป็นเจ้าของสัตว์นั้น

๓. กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ
กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ที่กำหนดความประพฤติของมนุษย์ เพื่อให้มนุษย์จำต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ จึงจำเป็นต้องมีสภาพบังคับในกรณีที่มีการฝ่าฝืนกฎเกณฑ์กฎหมายใดไม่มีสภาพบังคับ ไม่เรียกว่าเป็นกฎหมาย
สภาพบังคับ(SANCTION) ของกฎหมายคือโทษต่างๆในกฎหมาย ถ้าเป็นสภาพบังคับอาญา ได้แก่ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน ส่วนสภาพบังคับของกฎหมายแพ่ง ได้แก่การกำหนดให้การกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายนั้นตกเป็นโมฆะหรือโมฆียะ

๔. กฎหมายต้องมีกระบวนการบังคับที่เป็นกิจจะลักษณะ
กฎหมายมีสภาพบังคับ แต่ทั้งนี้สภาพบังคับของกฎหมายนั้นจะต้องมีกระบวนการที่แน่นอนโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในอดีตการบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายบางครั้งใช้ระบบตาต่อตา ฟันต่อฟัน ทำร้ายเขาตาบอด คนถูกทำร้ายมีสิทธิทำให้ตาของคนที่ทำร้ายตาบอดได้เช่นเดียวกัน แต่ในการปกครองสมัยใหม่นี้เป็นการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจไว้ กล่าวคือรัฐเป็นศูนย์รวมอำนาจ ทั้งการออกกฎหมายก็จะออกมาจากรัฐการบังคับใช้กฎหมายก็ต้องกระทำโดยรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ รัฐสมัยใหม่จะไม่ยอมให้มีการบังคับกฎหมายโดยประชาชน เพราะจะทำให้คนที่แข็งแรงกว่าใช้กำลังบังคับคนที่อ่อนแอกว่า ซึ่งจะทำให้สังคมวุ่นวาย และเนื่องจากกฎหมายมีกระบวนการบังคับที่เป็นกิจจะลักษณะเช่นนี้จึงทำ ให้กฎหมายมีลักษณะเป็นกฎเกณฑ์ควบคุมความประพฤติของมนุษย์ซึ่งแตกต่างจากศีลธรรม ศาสนา หรือจารีตประเพณี กระบวนการบังคับใช้กฎหมายที่รวมศูนย์อยู่ที่รัฐนี้กระทำโดยผ่านองค์กรต่างๆ เช่น ตำรวจ อัยการ ศาลราชทัณฑ์ เป็นต้น

ลักษณะของกฎหมาย

เนื่องจากการทำงานเกี่ยวกับที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ จะมีการกล่าวอ้างถึงตัวบทกฎหมายอยู่เสมอ การดำเนินการใด ๆ จะต้องทราบกฎหมาย ระเบียบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกรณีที่มีข้อโต้แย้ง / ข้อพิพาทที่ดิน ย่อมใช้กฎหมาย ระเบียบเข้ามาพิจารณาแก้ไข หากคู่กรณีไม่สามารถตกลงกันได้ท้ายที่สุดต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมคือศาลพิพากษา ดังนั้นเราควรจะมาทำความเข้าใจกับกฎหมายเบื้องต้นก่อน

การจัดทำกฎหมายลายลักษณ์อักษรในกรณีปกติ ( จากหนังสือ “ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย” ของ รศ.พ.ต.อ. หญิง นัยนา เกิดวิชัย )

กฎหมายลายลักษณ์อักษรที่ออกมาใช้บังคับนี้อาจจะออกโดยอาศัยอำนาจจากองค์กรที่ต่างกัน ดังนั้นหากจะแบ่งแยกกฎหมายลายลักษณ์อักษรออกเป็นประเภทตามการจัดทำโดยใช้เกณฑ์องค์กรที่มีอำนาจออกกฎหมาย สามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ ๓ ประเภท ดังนี้ (หมายเหตุ คำว่า “ออก” ในที่นี้ต่างกับคำว่า “ตรา” ผู้มีอำนาจออก คือ ผู้พิจารณาและอนุมัติให้เป็นกฎหมาย ส่วนผู้มีอำนาจตรา คือ ผู้ลงนามให้เป็นกฎหมายอันเป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนประกาศใช้กฎหมาย )

๑. กฎหมายลายลักษณ์อักษรที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ได้แก่
๑.๑ รัฐธรรมนูญ
๑.๒ พระราชบัญญัติ ( พ.ร.บ. )
๑.๓ ประมวลกฎหมาย
๑.๔ กฎมณเฑียรบาล

๒ กฎหมายลายลักษณ์อักษรที่ออกโดยฝ่ายบริหาร ได้แก่
๒.๑ พระราชกำหนด
๒.๒ พระราชกฤษฎีกา ( พ.ร.ฎ. )
๒.๓ กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง

๓. กฎหมายลายลักษณ์อักษรที่ออกโดยองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ได้แก่
๓.๑ ข้อบัญญัติจังหวัด
๓.๒ เทศบัญญัติ
๓.๓ ข้อบังคับตำบล
๓.๔ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
๓.๕ ข้อบัญญัติเมืองพัทยา

๔. ความหมายของกฎหมายแต่ละประเภทโดยย่อ

๔.๑ รัฐธรรมนูญ ( Constitution )
เป็นกฎหมายมหาชนสารบัญญัติที่มีศักดิ์สูงสุดที่ใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศกฎหมายอื่นจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้ รัฐธรรมนูญได้วางระเบียบเกี่ยวกับการใช้อำนาจสูงสุดในการปกครองรัฐที่เรียกว่าอำนาจอธิปไตย และกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจนั้น ๆ ต่อกันและกัน

๔.๒ พระราชบัญญัติ ( Act )
การจัดทำพระราชบัญญัติ หรือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ เป็นไปตามขั้นตอนและวิธีการที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่มีผลบังคับใช้ในขณะนั้นผู้เสนอร่าง พ.ร.บ. ได้แก่ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคน ,คณะรัฐมนตรี หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้พิจารณาร่าง พ.ร.บ. ได้แก่ รัฐสภาผู้ตรา พ.ร.บ. ได้แก่ พระมหากษัตริย์การประกาศใช้ จะใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ต่อเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว

๔.๓ ประมวลกฎหมาย ( Code )
คือ กฎหมายที่บัญญัติรวมเรื่องเดียวกันไว้ในกฎหมายฉบับเดียวกันโดยได้ร้อยกรองจัดเป็นระบบขึ้นใหม่และแบ่งเป็นหมวดหมู่เรียบร้อยแล้ว มีการกล่าวข้อความท้าวถึงซึ่งกันและกันเช่น รวบรวมบทบัญญัติที่เกี่ยวกับเรื่องทางอาญามาจัดเป็นประมวลกฎหมายอาญา นอกจากนั้นยังมีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายที่ดิน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ฯลฯการพิจารณาร่างประมวลกฎหมายก็เช่นเดียวกับพระราชบัญญัติ คือ เป็นหน้าที่ของรัฐสภาและการจะให้ประมวลกฎหมายมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายได้ จะต้องมีการตราพระราชบัญญัติ ( พ.ร.บ. ) ให้ใช้ประมวลกฎหมายนั้นอีกที่หนึ่ง เช่น ประมวลกฎหมายที่ดิน ก็มีการตราพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.๒๔๙๗ มีจำนวน ๑๕ มาตรา สำหรับประมวลกฎหมายที่ดินมีจำนวน ๑๑๓ มาตรา

๔.๔ กฎมณเฑียรบาล ( Royal Family Law )
ได้แก่ กฎหมายส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีต้นกำเนิดมาจากตำราราชประเพณีของพราหมณ์ที่เรียกว่า คัมภีร์มนูธรรมศาสตร์ของอินเดีย ปัจจุบันประเทศไทยมีกฎมณเฑียรบาล ๓ ฉบับคือ
- กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการเสกสมรส แห่งเจ้านายในพระราชวงศ์ พ.ศ.๒๔๖๗
- กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ.๒๔๖๗
- กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสมรสพระราชวงศ์ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.๒๔๗๕

๔.๕ พระราชกำหนด ( Royal Ordinance )
คือ กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี

๔.๖ พระราชกฤษฎีกา ( Royal Decree )
คือ กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีโดยไม่ต้องผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากรัฐสภา เพราะรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนดได้มีบทบัญญัติมอบให้ฝ่ายบริหารคือคณะรัฐมนตรีถวายคำแนะนำพระมหากษัตริย์ให้ทรงตราพระราชกฤษฎีกากำหนดรายละเอียด เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนดนั้น ๆ แล้วแต่กรณีเหตุผลที่พระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนดมักจะกำหนดแต่หลักการใหญ่ ๆ แล้วกำหนดให้ออกพระราชกฤษฎีกาหรือกฎกระทรวงกำหนดรายละเอียดปลีกย่อยทั้งนี้ก็เพื่อ ทำให้กฎหมายอ่านง่าย เข้าใจง่าย เพราะมีแต่หลักการใหญ่ ๆ อันเป็นสาระสำคัญ , ประหยัดเวลาของผู้บัญญัติกฎหมายที่จะไม่ต้องเสียเวลาพิจารณาข้อรายละเอียดปลีกย่อย , พระราชกฤษฎีกาและกฎกระทรวงแก้ไข
เพิ่มเติมได้ง่าย ทำให้กฎหมายเหมาะสมกับกาละเทศะอยู่เสมอ และโดยทั่วไปแล้วพระราชกฤษฎีกาจะออกโดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติ เช่น พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินในท้องที่ตำบลดงภูเกิด อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก พ.ศ.๒๔๘๐ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พุทธศักราช ๒๔๗๘ จึงให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้

๔.๗ กฎกระทรวง ( Ministerial Requlation )
คือ กฎหมายซึ่งรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนดออกเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนดนั้น เช่น กฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดหาประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ พ.ศ.๒๕๔๕รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ และมาตรา ๑๒ แห่ง พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ.๒๕๑๘ ( การออกกฎกระทรวงต้องให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาร่างกฎกระทรวงก่อน )

๔.๘ ข้อบัญญัติจังหวัด ( Provincial Statute )
คือ กฎหมายที่องค์การบริหารส่วนจังหวัด ตราขึ้นเพื่อใช้บังคับในเขตจังหวัดนอกจากเขตเทศบาล และเขตตำบลในกรณีที่มีการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลแล้ว

๕. การจัดทำกฎหมายลายลักษณ์อักษรในกรณีพิเศษ
กรณีที่มีการปฏิวัติหรือรัฐประหาร เพื่อยึดอำนาจการปกครองประเทศ อำนาจในการจัดทำกฎหมายจึงตกเป็นของคณะปฎิวัติหรือรัฐประหารในฐานะที่เป็นรัฎฐาธิปัตย์คือเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐในขณะนั้นการจัดทำกฎหมายกรณีเช่นนี้จึงถือได้ว่าเป็นการจัดทำกฎหมายลายลักษณ์อักษรในกรณีพิเศษ มีดังนี้
กรณีพิเศษ มีดังนี้

๕.๑ ประกาศของคณะปฏิวัติ
ประกาศของคณะปฏิวัติเป็นข้อความซึ่งคณะปฏิวัติได้ออกประกาศให้ประชาชนในประเทศได้ทราบว่าคณะปฏิวัติได้ทำการปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองประเทศจากรัฐบาลได้แล้วอำนาจอันชอบธรรมในการปกครองประเทศได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ จึงเป็นของคณะปฏิวัติโดยสิ้นเชิงคณะปฏิวัติในฐานะผู้ใช้อำนาจบริหารประเทศจึงมีอำนาจออกประกาศของคณะปฏิวัติและถือเป็นกฎหมายได้ผู้ตรา เมื่อหัวหน้าคณะปฏิวัติพิจารณาร่างประกาศเสร็จ และส่งพิมพ์เป็นประกาศแล้วหัวหน้าคณะปฏิวัติจะลงชื่อในประกาศนั้น ซึ่งก็ถือว่าเป็นการตรากฎหมายแล้วประกาศใช้ ประกาศของคณะปฏิวัติเมื่อได้อ่าน หรือประกาศทางวิทยุกระจายเสียง
และโทรทัศน์แล้วก็มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ โดยมิต้องรอประกาศในราชกิจจานุเบกษาอาจมีประกาศที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่น เช่น ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน (ปร. ) หรือ แถลงการณ์หรือประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ( ประกาศ รสช. ) ซึ่งมีการประกาศใช้ในลักษณะเดียวกันกับประกาศของคณะปฏิวัติ

๕.๒ กฎอัยการศึก
หมายถึง พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.๒๔๕๗ และกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติม การประกาศใช้กฎอัยการศึกทำได้ ๒ กรณี คือ การประกาศใช้ทั่วราชอาณาจักร กับการประกาศใช้ในบางท้องที่

๖. ศักดิ์ของกฎหมายลายลักษณ์อักษร
หากจะจัดลำดับความสำคัญตามศักดิ์ของกฎหมาย หรือ ลำดับขั้นของกฎหมายได้ดังนี้
๖.๑ รัฐธรรมนูญ
๖.๒ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย และพระราชกำหนด
๖.๓ พระราชกฤษฎีกา
๖.๔ กฎกระทรวง
๖.๕ ข้อบัญญัติจังหวัด เทศบัญญัติ ข้อบังคับตำบล ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
ประกาศของคณะปฏิวัติ และที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่นตามข้อ ๔.๑ ถือว่าเป็นกฎหมายด้วยนั้นจะมีศักดิ์เท่ากับกฎหมายใด จะต้องพิจารณาจากเนื้อความของประกาศคณะปฏิวัตินั้น เช่น ประกาศคณะปฏิวัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติย่อมมีศักดิ์เท่ากับพระราชบัญญัติ การจัดลำดับศักดิ์ของกฎหมายมีประโยชน์ในทางปฏิบัติ คือ การแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกกฎหมายใดต้องกระทำโดยกฎหมายที่มีศักดิ์เท่ากันหรือสูงกว่า เช่น การยกเลิกพระราชกฤษฎีกาต้องทำโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาฉบับใหม่ออกมายกเลิก จะต้องออกกฎกระทรวงมายกเลิกพระราชกฤษฎีกาไม่ได้ เป็นต้น